วันนี้มีการทดลองวิทยาศาสตร์เรื่องพลังงานที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังค่ะ
เรื่องมีอยู่ว่ามีนักวิจัยชาวอเมริกาอยู่คนนึง ชื่อดร.แอน บาลวิน มีความสงสัยอยากที่จะรู้ว่าพลังงานเรกิที่โด่งดังแพร่หลายในตะวันตก และมีการนำไปใช้ในโรงพยาบาลนั้น
– ฮีลได้จริงไหม?
– ลดความเครียดได้จริงไหม?
– ส่งผลอย่างไรในทางกายภาพ?
– แล้วจะเป็นยังไงถ้าให้คนไม่ได้เรียนเรกิ…มาส่งเรกิปลอมบ้าง?
ดร.แอนก็เลยจัดงานวิจัยขึ้นมา โดยกลุ่มทดลองเป็นสัตว์ค่ะ เพราะว่าการทดลองด้วยสัตว์นั้นได้เปรียบกว่าการทดลองกับมนุษย์ เนื่องจากสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมและตีความได้ง่าย (สัตว์ไม่ต้องคิดอะไร มีปัจจัยอะไรส่งผลก็ส่งตอบสนองได้ทันที) และเลือกใช้ “เสียงรบกวน” เนื่องจากเสียงที่ดังเกินไปมีผลกับความเครียด ทั้งมนุษย์และสัตว์ ซึ่งสามารถนำไปสู่ความผิดปกติทางการได้ยิน รวมทั้งมีผลต่อการฟื้นตัวของร่างกายด้วย
ส่วนสัตว์ทดลองนั้นเป็นเจ้าหนูค่ะ ซึ่งวัดผลจากความเครียดจากเสียงที่ดังเกินไปจะทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กของหนู ซึ่งนำไปสู่การรั่วไหลของพลาสมาเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบๆ ได้ ดังนั้นหน่วยวัดจึงเป็นจำนวนการรั่วไหลเฉลี่ยต่อไมครอนของหลอดเลือดดำค่ะ
วิธีการทดลองก็แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มทดลองค่ะ
● กลุ่มที่ 1 กลุ่มหนูปกติ ที่ไม่มีเสียงรบกวน
● กลุ่มที่ 2 กลุ่มหนู ที่ได้ยินเสียงรบกวนทุกวัน
● กลุ่มที่ 3 กลุ่มหนู ที่ได้ยินเสียงรบกวนทุกวัน และได้รับพลังเรกิจากผู้ฝึกเรกิขั้นที่ 2 เป็นการส่งแบบทางไกล ไม่ต้องสัมผัสตัวหนู
● กลุ่มที่ 4 กลุ่มหนู ที่ได้ยินเสียงรบกวนทุกวัน และได้รับเรกิปลอมจากผู้ที่ไม่ได้เรียนเรกิเลย แต่ทำท่าทางเสมือนว่าส่งเรกิ
ผลลัพธ์ของการวิจัยออกมาได้น่าสนใจเลยค่ะ
● กลุ่มที่ 1 กลุ่มหนูปกติ ที่ไม่มีเสียงรบกวน
==> ระดับการรั่วไหล นั้นน้อยมาก เพราะหนูไม่เกิดความเครียดใด ๆ
(ค่าเฉลี่ยการรั่วไหล= 0.5 )
● กลุ่มที่ 2 กลุ่มหนู ที่ได้ยินเสียงรบกวนทุกวัน
==> กลุ่มนี้การรั่วไหลพีคสุดค่ะ แสดงถึงความเครียดสูงมากที่สุด
(ค่าเฉลี่ยการรั่วไหล= 3 )
● กลุ่มที่ 3 กลุ่มหนู ที่ได้ยินเสียงรบกวนทุกวัน และได้รับพลังเรกิจากผู้ฝึกเรกิขั้นที่ 2 เป็นการส่งแบบทางไกล ไม่ต้องสัมผัสตัวหนู
==> กลุ่มที่ได้รับเสียงรบกวนและเรกิไปด้วย พบว่าระดับการรั่วไหลน้อยกว่ากลุ่มก่อนหน้ามาก
(ค่าเฉลี่ยการรั่วไหล= 1 )
● กลุ่มที่ 4 กลุ่มหนู ที่ได้ยินเสียงรบกวนทุกวัน และได้รับเรกิปลอมจากผู้ที่ไม่ได้เรียนเรกิเลย แต่ทำท่าทางเสมือนว่าส่งเรกิ
==> กลุ่มที่ได้รับเสียงรบกวนและเรกิปลอม การรั่วไหลสูงกว่ากลุ่มอื่น แต่ก็ยังน้อยกว่ากลุ่มที่ 2
(ค่าเฉลี่ยการรั่วไหล= 2)
ซึ่งผลออกมาก็เป็นไปตามสมมุติฐานที่ว่าพลังงานเรกิช่วยลดความเครียดได้จริง ทำให้ส่งผลต่อมาทางกายภาพและวัดผลได้
แต่สิ่งที่น่าสนใจยังมีต่ออีกค่ะ 🙂
ดร.แอนยังได้วัดค่าความผ่อนคลาย อารมณ์ ความคิด กายภาพ สังคม การเชื่อมต่อ จิตวิญญาณ และภาพรวมทั้งหมด เปรียบเทียบก่อน-หลังจากการทดลองทั้งหมด ทั้งผู้ฝึกเรกิและส่งพลังเรกิให้หนูในกลุ่มที่ 3 กับผู้ที่ไม่ได้เรียนเรกิ และส่งเรกิปลอมให้กับหนูในกลุ่มที่ 4
ผลปรากฎว่า…
กลุ่มผู้ฝึกเรกิ และส่งพลังเรกิให้หนูในกลุ่มที่ 3
○ ก่อนการเริ่มส่งพลัง มีค่าเฉลี่ยระดับ ความผ่อนคลาย อารมณ์ ความคิด กายภาพ สังคม การเชื่อมต่อ จิตวิญญาณ และภาพรวมทั้งหมด อยู่ที่ประมาณ 7.5
● หลังจากการส่งพลัง 21 เซสชั่นแล้ว มีค่าเฉลี่ยระดับ ความผ่อนคลาย อารมณ์ ความคิด กายภาพ สังคม การเชื่อมต่อ จิตวิญญาณ และภาพรวมทั้งหมด เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 9.25 เลยค่ะ
ส่วนกลุ่มผู้ที่ไม่ได้เรียนเรกิ และส่งเรกิปลอมให้กับหนูในกลุ่มที่ 4
○ ก่อนการเริ่มส่งพลัง มีค่าเฉลี่ยระดับ ความผ่อนคลาย อารมณ์ ความคิด กายภาพ สังคม การเชื่อมต่อ จิตวิญญาณ และภาพรวมทั้งหมด อยู่ที่ประมาณ 6.25
● หลังจากการส่งพลัง 21 เซสชั่นแล้ว มีค่าเฉลี่ยระดับ ความผ่อนคลาย อารมณ์ ความคิด กายภาพ สังคม การเชื่อมต่อ จิตวิญญาณ และภาพรวมทั้งหมด ก็เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 7 ด้วย
☆☆☆☆☆
จากผลงานวิจัยนี้สรุปว่า การประยุกต์ใช้เรกิช่วยลดการรั่วของหลอดเลือดขนาดเล็กที่เกิดจากเสียงรบกวนได้อย่างมีนัยสำคัญในแบบจำลองสัตว์ ไม่ว่าผลกระทบเหล่านี้จะเกิดจากตัวเรกิเองหรือผลของการผ่อนคลายของผู้ฝึกเรกิ แต่อย่างไรก็ตามการใช้เรกิช่วยนี้อาจมีประโยชน์ในการลดผลกระทบของความเครียดในสิ่งแวดล้อมต่อสัตว์วิจัยและผู้ป่วยในโรงพยาบาลด้วยค่ะ
ที่น่าสนใจคือ …
แม้ว่าเรารู้กันอยู่แล้วว่าผู้ที่ฝึกเรกินั้น พลังงานมีผลจริง ๆ ยังไงก็ส่งผลกับพลังงานและกายภาพแน่นอน แล้วก็ส่งผลในการลดระดับความเครียดอย่างมีนัยะสำคัญ แต่สำหรับกลุ่มผู้ที่ส่งเรกิปลอมแม้ว่าการลดระดับความเครียดในหนูจะไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ก็พบว่าระดับความพึงพอใจโดยรวมหลังจากส่งพลัง(เรกิปลอม) ไป 21 วัน กลับมีระดับความพึงพอใจที่สูงขึ้นเช่นกัน แม้เพียงเล็กน้อย แต่ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการเปลี่ยนแปลงระดับอารมณืและความพึงพอใจในภาพรวมด้วยเหมือนกันค่ะ
☆ ในสายพลังงาน ทุกคนสามารถเชื่อมต่อและเรียกใช้พลังงานเรกิได้ ทุกคนสามารถเรียกเรกิได้ หากได้รับการถ่ายทอดหรือที่เรียกว่าการแอดทูน (Attune) จากอาจารย์เรกิหรือเรกิมาสเตอร์ ซึ่งก็จะทำให้คุณสามารถเชื่อมต่อกับพลังงานเรกิและเรียกใช้พลังงานได้อย่างง่ายดาย และเข้าถึงแหล่งพลังงานได้ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน
☆ #ในเรกิญี่ปุ่น ที่แอนได้รับการถ่ายทอดมาจากปรมาจารย์ญี่ปุ่นดั้งเดิม มีการแอดทูนในแต่ละระดับขั้นที่แตกต่างกันไป ซึ่งในแต่ละขั้นมีการแอดทูนทั้งหมด 3 ครั้ง จากการที่แอนได้นำมาถ่ายทอดให้กับนักเรียนเรกิในรอบที่แล้ว ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เรกิญี่ปุ่นนั้นมีพลังงานที่ชัดเจน สัมผัสได้ถึงพลังที่เข้าไปปรับสมดุลในร่างกาย และเข้าไปฟื้นฟูสุขภาพ นอกไปจากนั้นการแอดทูนเรกิญี่ปุ่นนี้ยังทำให้เพิ่มความแข็งแรงให้กับการเชื่อมต่อกับแหล่งพลังงานเรกิของคุณอีกด้วย
☆ ใครสนใจเรกิญี่ปุ่นแท้ๆ แอนกำลังจะเปิดคลาส “เรกิโชเด็น (靈氣初傳)หรือเรกิ ขั้นที่ 1”
ในวันที่ 9-10 ก.ย. นี้ค่ะ
2 วันเต็ม ๆ กับเนื้อหาพลังงานและ workshop ให้คุณได้สัมผัส รับ-ส่งพลังงานได้
แล้วเราจะ Workshop กันจนกว่าคุณจะเห็นผลด้วยตัวเองค่ะ ^^
ข้อมูลเพิ่มเติมแอดไลน์สอบถามได้ที่นี่
แล้วพบกันนะคะ
.
❤️ Soul Good Healing ❤️
อยากให้ทุกคนสัมผัสพลังงานที่มีอยู่จริง
และพัฒนาจิตวิญญาณไปร่วมกันค่ะ
#shoden
#โชเด็น
#reiki
#japanesereiki
#เรกิ
#เรกิญี่ปุ่น
***ใครสนใจอ่านงานวิจัยเพิ่มเติม สามารถค้นหาได้ด้วยชื่อวิจัยนี้ค่ะ
“Personal Interaction with a Reiki Practitioner Decreases Noise-Induced Microvascular Damage in an Animal Model”
ANN L. BALDWIN, Ph.D.,1 and GARY E. SCHWARTZ, Ph.D.2
Pingback: "7 ความลับของเรกิ" ... ที่ยังไม่เคยพูดสักที